วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

ข้อมูล Fixed Gear

ประวัติ
       Fixed Gear หรือ Fixie'' เป็นคำแสลงของจักรยานที่มีเกียร์เดียว และล้อหลังไม่สามารถฟรีได้ คือ เท้าต้องปั่นตามไปด้วยทุกครั้งที่รถวิ่งอยู่ และรถประเภทนี้เป็นรถที่ไม่ต้องการใบจานหลายใบ หรือแม้กระทั่งอุปกรณ์ช่วยเหลือในการเปลี่ยนเกียร์ และบางคนก็ไม่ใช้เบรคด้วยซ้ำ สมัยก่อนเป็นภาหนะส่งเอกสารตามตึก และเป็นกีฬาที่ใช้แข่งในเวลโลโดม 
      เดิมทีเจ้ารถ Fixed Gear ในต่างประเทศนั้น มันมีหน้าที่เป็นรถจักรยานใช้ส่งเอกสาร หรือที่รู้จักกันในชื่อของ Messenger Bike เนื่องจากรถมอเตอร์ไซค์ในต่างประเทศล้วนมีขนาดใหญ่ไม่ค่อยเหมาะกับการใช้งานออกตระเวนซอกแซก  ไปตามตรอกซอกซอย หรือบนถนนที่มียวดยานการจราจรติดขัด  รถจักรยานจึงสะดวกรวดเร็วกว่าเยอะ และสามารถพกพาขึ้นรถไฟฟ้าได้ง่ายเพราะมันเล็ก    ผอมเพรียวกะทัดรัด น้ำหนักเบา เลยคล่องตัวกว่ามอร์เตอร์ไซค์เป็นไหนๆต่อมามีการพลิกแพลงประยุกต์  ท่าทางแบบ BMX Stunt นักปั่นที่เก่งๆ สามารถเล่นท่า ทั้งยกล้อ ควงมันไปมา ด้วยการ balanceรถที่ต้องคอยจับจังหวะในการขี่ทุกฝีก้าวที่ย้ำน้ำหนักลงบนลูกบันได  ซึ่งสิ่งเหล่านี้มันเป็นการเพิ่มรสชาด เปรี้ยว เผ็ด มันส์  ให้เข้ากับรถที่มีสีสัน สดใสแสบทรวง หรือจะหวานแหววแนวลูกกวาด ผสมกลมกลืนกับท่าทางพลิกแพลงได้อย่างลงตัว เห็นแล้วเป็นที่สะดุดตาสะดุดใจของใครหลายๆ คน รวมถึงตัวผู้เขียนนี้ด้วย จึงเป็นที่มาของ Trend ใหม่ในตอนนี้ที่อยากจะแนะนำยังไงครับ 
      รถจักรยาน Fixed Gear เข้าสู่ประเทศไทยจากนักศึกษาที่ไปเรียนต่อยังต่างประเทศ แล้วได้นำกระแสนี้มาเผยแพร่ เมื่อยามที่เดินทางกลับมาบ้านเกิด          ยังมาพร้อมกับข้อมูลมากมายทั้งแนวการแต่งกาย เทคนิคการขับขี่เล่นท่า ซึ่งเราๆ สามารถหาข้อมูลเหล่านี้เพิ่มอย่างง่ายดายจากโลกอินเตอร์เน็ตที่เพียงคลิ๊กคำว่า fixed gear ลงใน google นอกจากนี้ยังมีกระแสมาจากนักจักรยานประเภทลู่  ที่ มีกลุ่มเล่นอยู่แล้วในประเทศไทยจับเอารถคู่ใจมาปรับแต่งเพื่อขี่เล่นในเมือง    ซึ่งรถ Fixed Gear ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนโฉม ปรับปรุงวัสดุให้มีความแข็งแรงคงทนมากยิ่งขึ้น เหมาะสำหรับการเล่นท่าผาดโผน หรือไม่ก็จะใช้รถลู่เดิมๆ ที่ปรับเปลี่ยนอะไหล่บางชิ้น มาเป็นรถ Fixed Gear ดูแล้วก็ให้ความรู้สึกคลาสสิกไปอีกแบบแต่ก็ยังสามารถให้ความสนุกเพลิดเพลินแก่ผู้ขี่ได้ไม่แพ้กัน 
รถลู่ ( Track Bike)    vs.   Fixed Gear Bike  รถลู่ ( Track Bike) และ Fixed Gear Bike  ที่จริงแล้วมันก็คือรถชนิดเดียวกันนั่นแหละ  เจ้ารถลู่มันถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับการแข่งขันใน Velodrome และถูกออกแบบมาไม่ให้มันมีทั้งเบรกหน้า และหลัง เพราะว่าการแข่งขันประเภทนี้ ไม่จำเป็นต้องใช้การชะลอความเร็วในช่วงสปีด หรือช่วงทางโค้ง เป้าหมายเพียงแต่ไปข้างหน้าด้วยความเร็วแบบสุดๆ เนื่องจากสนามที่เป็นรูปวงรี และจะมีพื้นที่ลา
ดเอียงรับแรงพุ่งปะทะของรถที่ต้องสาดโค้งรอบสนามตลอดระยะเวลาการแข่งขัน  รถลู่ยังมีน้ำหนักเบา จากวัสดุอลูมิเนียม ไททาเนียม หรือ  คาร์บอน ซึ่งสดุแต่ละชนิดมีคุณลักษณะ และให้ประโยชน์ที่ต่างกัน ได้เปรียบเสียเปรียบต่างกันไป เช่น คาร์บอนให้ความเบาแต่ความคงทนอาจสู้อลูมิเนียม หรือ ไททาเนียมไม่ได้  เมื่อรถ Fixed Gear แล่นบนท้องถนนก็ควรจะมีเบรกเพื่อเสริมความปลอดภัยมากขึ้น อีกทั้งรถประเภทนี้จะไม่มีฟรีที่ล้อหลัง ผู้ขี่ต้องจับจังหวะในการปั่นที่ต่อเนื่องให้ดี บวก กับการที่มันไม่มีเบรค  จึงต้องใช้ทักษะ ความชำนาญ และความแม่นยำในการบังคับรถจักรยานเป็นอย่างดี







Fixed Gear Trick Bike  
ส่วนอีกประเภทที่เร้าใจเร้าร้อนขึ้นมาหน่อย  จากการผาดโผน กระโดดกระเด้งกระดอนไปตามภาษาชาว Fixed Gear ประเภทTrick   เริ่มมีการใช้อุปกรณ์ในการสร้างสาร  อะดีนาลีน  เช่นเดียวกับสนาม Bmx ประเภท Street & Dirt Jump ดังนั้นอุปกรณ์ที่ใช้เริ่มปรับเปลี่ยนเพื่อความคงทนจากความซุกซนของนักขี่แต่ล่ะท่าน  เริ่มจากรูปทรงเฟรมที่กลายพันธ์ออกมาทางแนว Dirt นิดนิด ช่วงระยะของเฟรมจะมีขนาดยาวกว่าสายปั่นแต่ยังมีเค้าโครงเดิมอยู่ สีสันจัดจ้านด้วยสติ๊กเกอร์ตามสไตล์ที่ติดกันเข้าไป ตะเกียบหน้าของจักรยานมีขนาดยาวขึ้นและกว้างขึ้นเป็นรูปแบบ Bmx  เพื่อรองรับขนาดของยางที่ใหญ่ และขอบล้อที่กว้างขึ้น

ล้อที่ใช้ในสาย ทริค จะมีขนาด 3 แบบคือ ล้อเสือหมอบทั่วไป ทั้งล้อแม็ก หรือซี่ลวด ที่ขนาดมาตรฐาน 700 C แบบที่สองเล็กลงมานิดนึงเพื่อลดการเสียดสีของล้อระหว่างเล่นท่ากับเฟรมท่อนล่าง คือขาด 650 C ส่วนแบบสุดท้าย เอาล้อ Bmx และล้อ        เมาเท่นไบค์มาดัดแปลงมันซะเลย เพราะตัวถังของรถสายนี้มีความเป็นลูกครึ่งมากมายกับ Dirt Jump และ Bmx  จึงนำอะไหล่ของพ่อพันธ์แม่พันธ์มาใช้กันได้บางส่วน ตอนนี้เริ่มมีการใช้ เป๊กหรือที่เหยียบเท้าของชาว Bmx มาตะกายขอบคอนกรีตต่างๆ มากขึ้น





  ข้อดีของ fixed gear
 ก็คือ สามารถที่จะควบคุมความเร็ว หรือหยุดรถ ได้ตามการเคลื่อนไหวของเท้าทั้งสอง และเป็นการออกกำลังกายที่ดีมาก เพราะเท้าทั้งสองจะต้องหมุนไปตามเกียร์ตลอดเวลา 


ข้อเสียของ Fixed gear ถ้าควบคุมหรือบังคับรถไม่ดี อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุหน้าแหกได้หากไม่สวมชุดป้องกันหรืออุปกรณ์ป้องกันเอาไว้ เวลาขับเคลื่อนบนถนนใหญ่ ก็ควรขับขี่ชิดซ้าย ทางจักรยานเอาไว้ จะได้ไม่เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงตามมาในภายหลัง


นิยมใช้ที่สุด
Fixed Gear Bike ในอเมริกาก็เพิ่งมาฮิตกันแบบเข้าสายเลือดไม่กี่ปีนี้เหมือนกันครับ หน้าร้อนที่แล้วแถวบ้านผมไม่เห็นมีคนปั่นเลย ส่วนใหญ่ที่ผมเห็นจะปั่นกันมาก แถวๆ สยามสแควร์ แต่ปีนี้ ปั่นไปที่ไหนก็เจอครับ สรุปคือ ประเทศอื่นก็พึ่งมาฮิตปั่นกัน ุ6-7 ปีหลังมานี้เองครับ 
กลุ่มผู้นิยมใช้
            เด็กวัยรุ่น แนวแฟชั่น แต่งรถสวย ๆ สีเจ็บ ๆ เอามาปั่นเล่นให้เข้ากะเทรน fixie ปั่นออกกำลังกาย ก็คงเหมือนจักรยานชนิดอื่นอ่ะครับ แค่เลือกที่จะเอา fixie มาเป็นเครื่องมือออกกำลังกายเพราะความชอบส่วนตัวปั่น fixed gear สิ่งที่ต้องคำนึงมากสุดคือต้องแลกความสนุกกะความปลอดภัยเล็กน้อยครับ วิธีแก้ที่ใช้กันโดยทั่วไปคือ ใช้ gear ratioแล้วเวลาปั่นแรก ๆ อย่าปั่นเร็วมากถ้าไม่มั่นใจว่าจะมีเหตุการณ์ที่ต้องทำให้หยุดรถกระทันหัน ในขณะเดียวกัน         ฝึก skid stop ทำไม่ยากครับ โน้มตัวไปด้านหน้า เอาหน้าขายันกะบาร์เพื่อล็อค motion ของขา ในขณะเดียวกัน ใช้ขาข้างนั้นยันกะ pedal เพื่อล็อค motion ของ pedal ด้านนั้น พอล้อหลังเริ่มล็อคแล้วเริ่มสไลด์กะพื้น ก็โน้มตัวกลับเพื่อเพิ่มน้ำหนักให้ล้อหลัง 

   การเก็บรักษา
                นักปั่นส่วนใหญ่ ชอบที่จะตกแต่งจักรยาน ให้สวย และ ปั่นดีอยู่สม่ำเสมอ โดยการซื้ออุปกรณ์เสริมมาใส่ และตกแต่ง และอีกอย่าง รถจักรยาน Fixed Gear เป็นรถจักรยานที่ ไม่ต้องการการดูแลอย่างมาก เหมือนรถทั่วไป เพราะ ไม่มีเกียร์มาให้วุ่นวายใจด้วย

ข้อควรระวังในการขี่จักรยานฟิกเกียร์
    

 •   สำหรับนักปั่นมือใหม่ผมขอแนะนำ ว่าควรติดตั้งระบบเบรคไว้ด้วยนะครับ เพราะผมเห็นหลายคนซื้อจักรยานประเภทนี้มาใหม่ๆ และอาจจะเห็นของเพื่อนๆ ไม่ติดตั้งเบรคนั้นอาจเป็นเพราะว่าเพื่อนของคุณขี่จักรยานประเภทนี้มานาน และมีความชำนาญในการบังคับ และควบคุม ต่างจากนักปั่นมือใหม่ที่ยังไม่รู้จังหวะในการหยุดรถจักรยานฟิกเกียร์ เพราะมันต้องอาศัยประสบการณ์และทำความคุ้นเคยกับมันพอสมควร
   

  •   หลายท่านเวลาไปหาซื้อจักรยานฟิกเกียร์มา คงสังเกตุเห็นว่าบางร้านเขาจะติดตั้งที่รัดเท้าติดมากับบรรไดรถจักรยานด้วย หลายคนมักเรียกว่า "ตะกร้อรัดเท้า" นั่นแหละครับ      ผมแนะนำว่ามือใหม่เวลาท่านปั่นไม่ควรรัดเท้าติดกับบรรได ควรปล่อยแบบหลวมๆ ไว้  นะครับเพราะเวลาท่านจอดรถท่านจะต้องเจอกับปัญหาที่ว่าถอดเท้าไม่ออก หรือ ลืมจึงถอดออกไม่ทันแล้วคุณก็ล้ม ลงตรงนั้นอาจจะไม่เจ็บมากแต่ถ้าล้มต่อหน้า สาวๆ แล้วคงไม่ต้องให้ผมบรรยายนะครับว่า มันหน้าอายมากแค่ใหนแทบจะแทรก หรือมุดดินให้ตัวเองหายไปตรงนั้นเลยครับ ไม่ต้องคิดอะไรมากครับขนาดมือ เก๋าๆ บางคนยังลืมได้เลย ของมันลืมกันได้ครับ แต่ยังไงความปลอดภัย ก็ต้องมาเป็นอันดับแรก นะครับ ขอให้เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆสนุกกับการปั่นจักรยานที่ตัวเองรักนะครับ และก็ต้องขอบอก บ๊าย บาย!! ก่อนจบบทความผมหา คลิปวีดีโอ การปั่นฟิกเกียร์ จาก Youtube มาฝากด้วยครับ ชมได้ตามสบายนะครับ


ราคาในตลาดบ้านเรา
เดี๋ยวนี้มีทั้งรถของแท้และแบบดัดแปลง เช่น รถแท้ก็คือ Fixed Gear รถแปลงก็คือ นำรถจักรยานเสือหมอบแล้วแต่ยี่ห้อเลย แล้วนำมาดัดแปลงที่ตรงหางปลาด้านหลังของจักรยาน ราคาจะไม่ค่อยแน่นอนซักเท่าไหร่ครับ ราคาที่คนเล่นจักรยานอาจจะมีค่าใช้จ่ายสูงซักหน่อย ราคาเบสิคในตอนนีี้ อยู่ที่ราวๆ 14500-15500 ครับถ้าเป็นของแท้  ถ้ารถดัดแปลงมา ราคา ก็จะอยู่ราวๆ 9000-12000 บาทครับ


Fixed Gear  มี 2 ประเภทได้แก่

1. ฟิ๊กเกียร์แบบสำเร็จรูป
มีหลายราคาตั้งแต่ 13,000 บาท ถึง 35,000 บาท หาซื้อได้ตามลำดับของแบรนด์จากไต้หวันถึงแบรนด์อิตาลี
อย่างแบรนด์ Cinilli หรือ Masi แต่ผลิตในไต้หวัน ไม่ใช่อิตาลีแท้ๆ หรือแบรนด์อเมริกาจาก SE และ SOMA ก็เช่นกัน
อาจจะมีราคาอยู่ที่ประมาณ 25,000 บาท ถึง 35,000 บาท แต่ก็ยังผลิตในเอเชียอยู่ดี (ราคาต่ำจะผลิตในเอเชียแทบหมด)
สำหรับเฟรมสำเร็จนั้นมีตั้งแต่รูปทรงแบบ SLIM หรือ BIG&BOLD แบรนด์จากไต้หวันอาจจะดูไม่เรียบร้อยเหมือนเฟรมของอิตาลี ที่สำคัญมีน้ำหนักมากกว่าแบบทำเองต่อเอง ทำให้เล่นท่าได้ยากกว่า http://www.youtube.com/watch?v=QC0XZxH8EHE&feature=player_embedded



2. ฟิ๊กเกียร์แบบต่อหรือประกอบเอง

แบบนี้สามารถเลือกอุปกรณ์ได้ทุกชิ้นตั้งแต่เฟรมลงไป ซึ่งอาจจะเป็นแบบ Tailor-made เหมือนการสั่งตัดเสื้อ

ซึ่งราคาทำเองต่อเองก็มีตั้งแต่ประมาณ 10,000 บาท ไปจนถึงประมาณแสนกว่าๆ 

ถ้าเป็นของอเมริกาที่นิยมกันก็มี Circle A Cycle  ที่ญี่ปุ่นมีแบรนด์สั่งตัดได้

เช่น KalavinkaNagasawa, Baramon ฯลฯ ส่วนในบ้านเรานั้น คนไทยที่ทำคือ คุณช๊วง โคราช

ราคาอยู่ประมาณ 10,000 บาท ซึ่งการทำเองต่อเองจะได้ความรู้สึกสนุกกับการเลือกอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีอยู่มากมาย

ตามต้องการ และที่สำคัญเราได้ประกอบเองด้วย







จัดได้ว่าเป็นสุดยอดที่ทำเองต่อเองทุกกระเบียดนิ้ว เป็นการสั่งตัดตามขนาดความสูง และสัดส่วนของเจ้าของรถ



Fixed Gear Tricks

คือการเล่นท่าต่างๆ Fixed Gear 

Tricks จะต้องใช้ความฝึกฝนบ่อยๆและใช้

ทักษะเป็นอย่างมากและควรใช้เฟรมที่มีความแข็งแรงเป็นพิเศษอีกด้วย








Fixed Gear Skid
คือการเบรกให้รถไหลไปตามทาง Fixed Gear Skid จะต้องเน้นความทรงตัวสูงและควรใช้ยางที่ดีถึงจะทำให้มีการทรงตัวที่ดีขึ้น